ออฟฟิศซินโดรม ภาวะอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม!
ออฟฟิศซินโดรมคือ กลุ่มอาการที่เกิดจากการมีไลฟ์สไตล์ที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกายและมีท่าทางการนั่งที่ไม่ถูกต้องมักพบในชาวออฟฟิศที่นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วยท่าทางเดิม ๆ เป็นระยะเวลานาน แม้ออฟฟิศซินโดรมจะไม่ใช่โรคและสามารถบรรเทาอาการชั่วคราวได้โดยการนวดแต่หากปล่อยไว้นานก็อาจเป็นอันตรายและทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและไขสันหลังได้
สาเหตุ
ออฟฟิศซินโดรมมีสาเหตุหลักจากการใช้กล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องในสภาวะการทำงานที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพเช่น การนั่งด้วยท่าที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากโต๊ะมีความสูงไม่เพียงพอ ตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์และคีย์บอร์ดไม่มีความเหมาะสมการยื่นศีรษะไปด้านหน้าเพื่อดูโทรศัพท์มือถือ และการค้อมตัวไปข้างหน้าปัจจัยเหล่านี้ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีการหดเกร็งอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกล้ามเนื้อจะอ่อนแรงและทำให้กล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ มีอาการตึงด้วยเช่นกัน
กลุ่มอาการต่าง ๆที่เกิดจากออฟฟิศซินโดรม:
· ปวดหลังจากท่านั่งที่ไม่เหมาะสม
· กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ: ปวดคอเรื้อรัง ปวดไหล่และสะบักเรื้อรัง
· โรคชามือจากโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome): ปวด ชาและเสียวที่มือ ข้อมือและแขน
· เอ็นอักเสบ:เอ็นบริเวณข้อศอกข้อมือ นิ้วมือ ต้นขาและส่วนอื่นของร่างกายอักเสบ
· มีอาการปวด ข้อติดแข็ง และเคลื่อนไหวไม่สะดวกเมื่อเหยียดหรืองอนิ้วมือโดยเฉพาะนิ้วนางและนิ้วโป้ง
· อาการเจ็บลูกสะบ้า (Patellofemoralsyndrome):ปวดบริเวณหน้าเข่าและรอบ ๆ สะบ้า
· ตาแห้งและปวดหัวจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน
· กลุ่มอาการด้านจิตใจ เช่น ซึมเศร้า นอนไม่หลับ และอ่อนเพลีย
· โรคกระเพาะอาหาร:อาหารไม่ย่อยท้องอืด ไม่สุขสบายในท้อง คลื่นไส้และเรอ
การป้องกัน
วิธีการป้องกันภาวะออฟฟิศซินโดรมได้ง่ายๆ มีดังนี้:
· ปรับท่าทางให้เหมาะสม นั่งตัวตรงโดยเอนไหล่ไปด้านหลังเก็บคางเพื่อยืดกระดูกสันหลัง และจัดให้ต้นขาขนานกับพื้น ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากคุณหนึ่งช่วงแขนและอยู่ในระดับเดียวกับสายตาเมาส์และคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ควรวางอยู่ตรงหน้าคุณในระยะที่คุณสามารถใช้งานได้อย่างสบายและวางแขนอย่างเหมาะสม
· ปรับท่านั่งอย่างสม่ำเสมอ ยืดเหยียดหรือลุกเดินทุก 1-2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้าซึ่งจะทำให้คุณนั่งตัวงอและควรพักสายตาบ้าง
· นั่งใกล้กับหน้าต่างเพื่อให้ได้รับแสงอย่างเพียงพอ การมีแสงสว่างอย่างเพียงพอไม่เพียงแต่ช่วยลดอาการอ่อนล้าของดวงตาและแต่ยังทำให้ตื่นตัวเพิ่มขึ้นและทำงานได้ดีขึ้น
· ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอการออกกำลังกายช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อและทำให้แกนกล้ามเนื้อแข็งแรงช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังได้เป็นอย่างดี
· เลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่นการใช้โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตมากเกินไป การใช้อุปกรณ์เหล่านี้อย่างนาน ๆ จะทำให้ปวดคอไหล่ และสะบักเรื้อรังได้
· พักผ่อนอย่างเพียงพอ การนอนหลับอย่างเพียงพอรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้คุณมีสุขภาพดี
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
หากคุณปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์แล้วแต่ยังมีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังอยู่เราขอแนะนำให้คุณไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดก่อนที่จะมีอาการร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา เช่นอาการชาหรือเสียวแปล๊บในร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่
โดยสรุปแล้วออฟฟิศซินโดรมรักษาได้และไม่ใช่ภาวะที่น่ากลัวอย่างที่คิดหากคุณปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมแต่หากคุณลองปฏิบัติตามข้างต้นแล้วๆยังไม่มีอาการดีขึ้นให้ลองพบผู้เชี่ยวชาญอย่างทันท่วงที ดังนั้นหากคุณมีปัญหาเรื่องออฟฟิศซินโดรมเรื้อรังสามารถนัดเข้ามาปรึกษาที่ PBS ของเราได้เลย เพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดเรื้อรังไม่รู้จบและการเสียค่าใช้จ่ายเพียงเพื่อการรักษาที่ปลายเหตุหรือแก้ปวดเพียงระยะเวลาสั้นๆ
แหล่งที่มา
https://www.praram9.com/en/officesyndrome/
https://www.dtapclinic.com/articles/office-syndrome-causes-symptoms-treatments/
https://www.bangkokhospital.com/en/content/work-from-home-and-office-syndrome